หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU
ภายในระบบ
หลักสูตร
รายละเอียดประจำวิชา
เอกสารประกอบการสอน
ตำราวิชาการ
บทความวิชาการ

หน้าหลัก » สังคม » ปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ “ครู” คือผู้สานฝัน
 
เข้าชม : ๒๑๔๑๙ ครั้ง

''ปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ “ครู” คือผู้สานฝัน''
 
ฉวีวรรณ สุวรรณาภา (2549)

 

  โลกปัจจุบันมีความเจริญรุดหน้าด้านความรู้  ข้อมูลข่าวสาร  วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว ทำให้สังคมมีความซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ส่งผลให้เกิดปัญหาน้อยใหญ่ ตามมามากมาย  ผู้คนที่จะดำรงอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข  และสร้างสรรค์สังคมได้  ต้องเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้  ใฝ่ดี  และมีทักษะชีวิตที่เหมาะสมเพียงพอ           การจัดการเรียนรู้แบบเดิม ๆ  ที่มุ่งให้ผู้เรียนได้ความรู้จากครู  หรือจากหนังสือเพียงไม่กี่เล่ม  ไม่สามารถพัฒนาคนให้มีบุคลิกภาพและคุณลักษณะที่เหมาะสมต่อการเผชิญโลกอนาคตได้  การจัดการศึกษายุคใหม่  ให้เป็นไปตามแนวทางที่เหมาะสมจึงต้องมีการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้  โดยมุ่งพัฒนาการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เรียนรู้อย่างมีความสุข  มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน  ให้ผู้เรียนได้พัฒนาเต็มศักยภาพของตนเอง  สามารถนำผลการเรียนรู้มาใช้ดำรงชีวิตอย่างมีความสุข

            การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้  คือ  พลังที่จะขับเคลื่อนประชาคมไทย  ไปสู่อนาคตอย่างรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง  แต่การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ไม่ใช่ยาวิเศษขนานใหม่ที่จะลอกเลียนสูตรสำเร็จเสมอไป ถือปฏิบัติเหมือนกันทั่วประเทศ   แก่นแท้ของการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ คือ ความตระหนักในศักยภาพของทุกคนที่จะเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง หลากหลาย  สนุกสนาน    ท้าทายและมั่นใจ

            การปฏิรูปหลักสูตร  เป็นการเปลี่ยนแปลงระบบการพัฒนาหลักสูตรและการใช้หลักสูตรเพื่อแก้ไขจุดอ่อน  จุดด้อย ของระบบหลักสูตรเดิมที่ไม่ทันสมัย ไม่เอื้อต่อการตอบสนองความเปลี่ยนแปลงของสังคมและไม่เอื้อต่อการจัดให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตตลอดจนไม่สามารถออกแบบให้สนองความแตกต่างระหว่างผู้เรียนที่จะเรียนรู้ด้วยตนเองได้ตลอดชีวิต  การปฏิรูปหลักสูตรเป็นการเสริมสร้างให้มีการปรับเปลี่ยนวิธีการกำหนดออกแบบหลักสูตรโดยครูที่โรงเรียน  และส่วนกลางเน้นที่จัดระบบ  แนะนำ  ช่วยเหลือ  ชี้นำ  ให้ตัวอย่างแก่ครู   ให้ข้อมูลเกี่ยวกับมาตรฐานแกนกลางที่คนไทยต้องมีเหมือน ๆ  กันรวมทั้งส่งเสริมการดำเนินไปสู่มาตรฐาน  การนิเทศติดตาม และประเมินผลให้บรรลุมาตรฐาน  เหตุที่ต้องมีหลักสูตรระดับโรงเรียนก็เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ได้มาตราฐานสากล  มาตรฐานความเป็นไทย  มาตรฐานที่ท้องถิ่นต้องการและยกระดับมาตรฐานของภูมิปัญญาไทย เป็นโอกาสที่จะสนองสาระที่มาจากภูมิปัญญาไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้สิทธิแก่พ่อแม่  ชุมชน  ได้มีส่วนร่วมกำหนดความต้องการของท้องถิ่น

            การพัฒนาหลักสูตรระดับโรงเรียนจะมีคุณภาพหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับ “ครู”  เพราะครูเป็นผู้ที่มีความรู้  ความชำนาญ และสัมผัสกับผู้เรียนอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา แต่ทั้งนี้ในการกำหนดหลักสูตรจะต้องคำนึกถึงความมีคุณภาพ   ผู้เรียน  เรียนแล้วเกิดการเรียนรู้ได้ดีเพียงใด  และสามารถบรรลุ  กรอบมาตรฐานคุณภาพผลการเรียนรู้ (Quality  Standard  Framework)  จากส่วนกลางได้  การพัฒนาหลักสูตรระดับโรงเรียนโดยลำพังแล้วครูเป็นผู้ดำเนินการแต่เพียงผู้เดียวนั้นย่อมกระทำไม่ได้  ต้องอาศัยส่วนกลางที่จะต้องสร้างความพร้อมให้แก่โรงเรียนและครู โดยจะต้องเป็นแกนสำคัญในการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้  เพื่อพัฒนาคุณภาพและศักยภาพให้เพียงพอต่อการดำเนินการ

 

                มนุษย์ต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อให้ก้าวทันความเปลี่ยนแปลงของโลก กระบวนการเรียนการสอนที่ดี คือครูต้องรู้จักบูรณาการ หาหนทาง  วิธีการส่งเสริม สร้างบรรยากาศให้ผู้เรียนได้รู้จักการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองโดยการแลกเปลี่ยนประสบการณ์   การมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนการสอนและการนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์โดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง อาศัยหลักการ   CIPPA  MODEL   ซึ่งประกอบด้วย

๑.       CONSTRUCT  ให้ผู้เรียนแสวงหาข้อมูล   ทำความเข้าใจ คิดวิเคราะห์ สรุปข้อความรู้ด้วย

ตนเอง

๒.     INTERACTION  ให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน เรียนรู้แลกเปลี่ยนความคิด ประสบการณ์

แก่กันและกัน

๓.     PARTICIPATION  ให้ผู้เรียนมีบทบาทและส่วนร่วมในการเรียนรู้มากที่สุด

๔.     PROCESS/PRODUCT  ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้กระบวนการควบคุ่ไปกับผลงานข้อความรู้ที่

สรุปได้

๕.     APPLICATION    ให้ผู้เรียนนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน

(สุพล  วังสินธ์  กรมวิชาการ  วารสารวิชาการ   ปีที่  ๑)

แนวทางของ  CIPPA  MODEL   คือการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ฝึกฝน  รวบรวมข้อมูลและสร้างสรรค์ความรู้ด้วยตนเอง    ตลอดทั้งฝึกฝนให้รู้วินัยและรับผิดชอบในการทำงาน  สำหรับกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง   จะประกอบด้วย    ขั้นตอน    คือ  ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน  ขั้นกิจกรรมการเรียนการสอน  ขั้นวิเคราะห์อภิปรายผลจากกิจกรรม  และขั้นสรุปประเมินผลการเรียนรู้  โดยแนวทาง CIPPA   จะถูกนำไปใช้ในขั้นตอนของการจัดกิจกรรม  ครูผู้สอนจะต้องเปลี่ยนบทบาทจากครูผู้สอน เป็นผู้อำนวยการความสะดวก คือเป็นผู้จัดเตรียมประสบการณ์ และสื่อการเรียนการสอน รวมทั้งการหาเทคนิคและวิธีการสอนรูปแบบต่าง ๆ  เพื่อให้ผู้เรียนใช้เป็นแนวทางในการสร้างสรรค์ ความรู้ด้วยตนเองและสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้เพื่อให้ผู้เรียนมีคุณภาพ คือ เป็นคนเก่ง  ดี และมีความสุข  ตลอดทั้งมองกว้าง  คิดไกล  ใฝ่รู้และเชิดชูคุณธรรม

               

ความคิดสร้างสรรค์  เป็นสิ่งที่มองไม่เห็น บางครั้งจึงเป็นการยากที่จะส่งเสริมให้เด็กหรือครูคิดได้หรือมองเห็นในจิตใจ     การเป็นครู มีภาระหน้าที่สอนนักเรียนทั้งในและนอกห้องเรียนนั้นใช่ว่าจะดำเนินการได้ตามหลักการและทฤษฏีที่เคยเรียนมาได้หมดทุกประการ  มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ครูมักจะรำพึงรำพันกับตนเองว่าทำไมไม่สามารถปฏิบัติได้ตามที่ตนเองร่ำเรียนมา    ต้องมีการศึกษาหาวิธีแก้ปัญหาอยู่เสมอไม่รู้จบ     ความคิดสร้างสรรค์ เกิดจากความสามารถ    ประการ  ซึ่งสามารถพัฒนาได้ในตัวนักเรียนแต่ควรใช้และพัฒนาให้เกิดความสมดุลกัน คือ

๑.       ความสามารถในการสังเคราะห์  (Synthetic    ability)    คือ ความสามารถที่จะคิดอะไร

ได้มากกว่าสิ่งที่เห็นอยู่เป็นปกติ ได้อะไรใหม่  ๆ ขึ้นมาซึ่งคนอื่นมองไม่เห็น เช่น  เห็นสายไฟ  เห็นแผ่นพลาสติก เห็นมอเตอร์ อาจจะจับรวมกันเป็นพัดลมได้

๒.     ความสามารถในการวิเคราะห์  (Analytical    ability)  คือความสามารถในการคิดแยก

แยะออกเป็นส่วน ๆ มีการประเมินผล มองเห็นจุดดี  คิดนำจุดดีไปใช้ประโยชน์

๓.     ความสามารถในทางปฏิบัติ  (Practial  ability)  คือ ความสามารถในการเปลี่ยนทฤษฎี

เป็นปฎิบัติ หรือเปลี่ยนความคิดเชิงนามธรรมให้เป็นรูปธรรม

(รศ.ดร.สุรศักดิ์   หลาบมาลา.  กรมวิชาการ  วารสารวิชาการ  ปีที่    ฉบับที่  ๑ )

 

ความคิดสร้างสรรค์ก็คือสิ่งใหม่หรือนวตกรรมซึ่งเกิดจากการนำความสามารถในการสังเคราะห์  + ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ + ความสามารถในการปฏิบัติ นำมารวมกันแล้วยังไม่พอต้องอาศัยครู ช่วยส่งเสริมความสามารถทั้ง    ประการพัฒนาให้ความสามารถทั้ง    ประการให้สมดุลกัน  ความคิดสร้างสรรค์เป็นสิ่งที่มองไม่เห็น  บางครั้งจึงเป็นการยากที่จะส่งเสริมให้เด็กหรือครูคิดได้  แผนที่การคิด  (Thinking  map) จึงเป็นเครื่องมือให้นักเรียนเข้าใจกระบวนการคิดและมองเห็นรูปร่างได้  เช่น  การคิดอุปมาอุปมัย  คือเปรียบเทียบสิ่งที่แตกต่างกัน  ใช้เชื่อมแนวความคิด    ประการ เปรียบเทียบกัน แผนที่การคิดชนิดนี้เรียกว่า แผนที่การคิดแบบสะพาน  (Bidge  Map)    เช่น    

 

 

 


                                ให้รักษาความดี                    เสมือน                   เกลือรักษาความเค็ม

 

                หรือแผนที่เชิงระบบขั้นต้น  (System   Map) ซึ่งเรารู้จักกันในกระบวนการ คือ  input   process  และ  output  และอาจจะมีการให้ข้อมูลย้อนกลับด้วย  เช่น 

 

 

 

สติปัญญาสูง

เอาใจใส่ต่อการเรียนดี

ผลการเรียนดี

เกรดเฉลี่ยสูง

 

 

 

 

 

 

 

 


วิธีการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์โดยวิธีการนำเอกแผนที่การคิด (Thinking  map)  มาสอนนักเรียน เพื่อช่วยให้นักเรียนคิดได้ดียิ่งขึ้น ครูสามารถปรับแผนที่การคิดไว้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ได้ตามความเหมาะสม โดยแทรกลงในบทเรียนที่สอนได้

 

Storyline  Method  เป็นนวตกรรมทางการศึกษา  ที่มีการบูรณาการทั้งหลักสูตรและการเรียนการสอนโดยนำเอาเนื้อหาวิชาต่าง ๆ  มาหลอมเข้าด้วยกัน     เน้นที่องค์รวมของเนื้อหามากกว่าองค์ความรู้ของแต่ละรายวิชา   และเน้นที่การเรียนรู้ของผู้เรียนมากกว่าการบอกเนื้อหาของครู Storyline  Method  จะเป็นวิธีสอนที่นำเอาทฤษฎีการเรียนรู้หลายทฤษฎีมาใช้รวมกัน  เช่น  การบูรณาการ  การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม  การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง  การเรียนจากสิ่งที่ใกล้ตัวนักเรียนเชื่อมโยงออกไปสู่วิถีชีวิตจริง  การค้นคว้าหาความรู้และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง  โดยมีความเชื่อว่า  “ความรู้ควรมีลักษณะเป็นองค์รวม  ผลของการเรียนรู้ขึ้นอยู่กับวิธีการได้มาซึ่งความรู้นั้น  และประสบการณ์ของผู้เรียนเป็นสำคัญและผู้เรียนจะเรียยนรู้ได้ดีผ่านการกระทำของตนเองด้วยประสบการณ์ตรง” 

การใช้  Storyline  Method  จะส่งเสริมให้เด็กกล้าคิด  กล้าพูด  กล้าแสดงออก  และมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน ครูต้องมีความสามารถในการหลอมรวมเนื้อหาหลักสูตรเข้าด้วยกัน และต้องมีทักษะในการคิดกิจกรรม  การเขียนแผนการสอนบูรณาการที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กับเรื่องที่เด็กต้องเรียนรู้อย่างกลมกลืน  ตลอดทั้งการประเมินผลสัมฤทธ์ทางการเรียนของเด็กให้เป็นที่ยอมรับว่าเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ 

 

                    การพัฒนาหลักสูตรระดับโรงเรียน ควรใช้ระบบ   CIPPA    คือ  การใช้รูปแบบและการดำเนินการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง  ,  Thinking  map  คือ  การสอนเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์โดยวิธีการนำเอาแผนที่ความคิด และ Storyline  Method  คือ  เส้นทางการเรียนรู้  ล้วนแล้วแต่เป็นแนวคิดและวิธีการเน้นความสำคัญของผู้เรียนหรือยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง  ทุกแนวคิดและทุกวิธีการคาดหวัง “ครู”  เป็นบุคคลที่มีคุณภาพและศักยภาพในหลาย ๆ  ด้าน เช่น  เป็นตัวจักรสำคัญในการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างโอกาส  ประสบการณ์การเรียนรู้ให้เด็กกระตุ้น  ชี้แนะ  สนับสนุนช่วยเหลือให้เด็กได้มีการเรียนรู้ด้วยตนเอง  เรียนรู้อย่างมีความสุข  สามารถเชื่อมโยงสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ไปสู่วิถีชีวิตจริงของเด็กได้

                นอกจากนี้ยังคาดหวังให้   “ครู”   มีความสามารถในการบูรณาการหลักสูตรที่สอดคล้องกับภูมิปัญญาท้องถิ่น  การจัดทำแผนการสอนแบบบูรณาการ  การกำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ และขอบข่ายของเนื้อหาสาระในหลักสูตรการเรียนการสอนในแต่ละระดับ  ตลอดทั้งการประเมินผลสัมฤทธิ์  การพัฒนาศักยภาพของ  “ครู”  ให้มีคุณภาพ และศักยภาพตามที่คาดหวังจึงเป็นภารกิจสำคัญต้องจัดการทำอย่างเร่งด่วน  จะต้องมีกฎหมายการศึกษาขั้นพื้นฐาน  กฎหมายครู  กฎหมายการบริหารการศึกษา  หน่วยงานทางการศึกษาในทุกระดับ  และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกส่วน  ทุกฝ่ายก็ต้องร่วมมือกันพัฒนาครู  ให้เป็นไปตามที่การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้  และการปฏิรูประบบการศึกษาที่คาดหวัง

(ที่มา: -)
 
 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕