Mahachulalongkornrajavidyalaya University
MCU Home Search Contacts Study Events Site Map Thai/Eng
 
MCU

First Page » พระสุชาติ วชิรปญฺโญ (นาอุดม)
 
Counter : 20050 time
ศึกษาวิเคราะห์ พระแก้วมรกต พระคู่บ้านคู่เมืองของไทย(๒๕๕๑)
Researcher : พระสุชาติ วชิรปญฺโญ (นาอุดม) date : 21/08/2010
Degree : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
Committee :
  พระมหาทวี มหาปญฺโญ
  นาย รังษี สุทนต์
  -
Graduate : ๒๖.. สิงหาคม ๒๕๕๑
 
Abstract

              การศึกษาวิเคราะห์มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของพระแก้วมรกต ศึกษาสมัย (การสร้าง) พระพุทธรูปที่เกี่ยวข้องกับพระแก้วมรกต และศึกษาความสำคัญของพระแก้วมรกตในฐานะพระคู่บ้านคู่เมืองของไทย ซึ่งเป็นการศึกษาในเชิงเอกสาร ผลจากการศึกษาพบว่า

            ๑) ประวัติความเป็นมาของพระแก้วมรกตนั้นตามหลักฐานทางวรรณคดี สันนิษฐานว่า สร้างขึ้นในนครปาฏลีบุตร แต่จากหลักฐานทางโบราณคดี สันนิษฐานว่า สร้างในสมัยเชียงแสน (พ.ศ. ๑๖๐๐-๑๘๐๐) พระแก้วมรกตถูกค้นพบครั้งแรกที่วัดพระแก้ว จังหวัดเชียงราย ในปี พ.ศ. ๑๙๗๗-๑๙๗๙ หลังจากนั้นพระแก้วมรกตได้ถูกอัญเชิญไปยังเมืองต่างๆ เช่น ลำปาง (๑๙๗๗-๒๗๑๑) เชียงใหม่ (๒๐๑๑-๒๐๙๖) หลวงพระบาง (๒๐๙๖) เวียงจันทน์ (๒๐๙๖-๒๓๒๒) กรุงธนบุรี (๒๓๒๒-๒๓๒๗) และกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ปี ๒๓๒๗ ถึงปัจจุบัน ซึ่งประดิษฐานอยู่ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
พระแก้วมรกตนั้น สร้างขึ้นด้วยหยกเขียว มีสัณฐานสันทัด พระพักตร์อิ่มเอิบ ต้องด้วยลักษณะการสร้างที่งดงาม
           ๒) การสร้างพระพุทธรูปนั้น มีจุดกำเนิดตั้งแต่ยุคคันธาระ (พ.ศ. ๓๗๐) ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากกรีกโบราณ ต่อมาก็ได้รับความนิยมทั่วอินเดีย โดยในสมัยพุทธกาล มีแนวคิดการสร้างสิ่งที่ระลึกไว้เพื่อระลึกถึงพุทธคุณของพระพุทธเจ้า จึงสร้างพระพุทธรูปแก่นจันทน์ ต่อมาในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชมีการสร้างพระพุทธรูปที่ใช้ศิลาเป็นหลัก วัตถุประสงค์ในการสร้างพระพุทธรูปเพื่อรำลึกถึงพระพุทธเจ้า เพื่อสร้างเป็นพุทธานุสติ ในพุทธคุณ ๓ ประการคือ พระปัญญาคุณ พระวิสุทธิคุณและพระมหากรุณาคุณ สำหรับยุคสมัยการสร้างพระพุทธรูปของพระแก้วมรกตนั้น จากเอกสารทางวรรณคดี กล่าวว่าเป็นยุคสมัยคุปตะ และมีลักษณะคล้ายสกุลช่างของเชียงแสน
จากการศึกษาเกี่ยวกับการสร้างพระพุทธรูปในประเทศไทยนั้นพบว่า มีหลายยุค เช่น ยุคสมัยทวารวดี (พ.ศ. ๑๐๐๐-๑๒๐๐) มีลักษณะคล้ายพระพุทธรูปสมัยคุปตะของอินเดีย ยุคสมัยศรีวิชัย (พ.ศ. ๑๒๐๐-๑๗๐๐) มีลักษณะคล้ายอู่ทองและร่วมสมัยแบบปาละ ยุคสมัยลพบุรี (พ.ศ.๑๕๐๐-๑๘๐๐) มีลักษณะคล้ายสมัยทวารวดี และมีหลายปาง และยุคสมัยเชียงแสน (พ.ศ. ๑๖๐๐-๒๐๙๑) มีลักษณะคล้ายแบบปาละลักษณะของพระแก้วมรกตนั้นสันนิษฐานว่า รับคติการสร้างมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลและกลายเป็นศิลปะต้นแบบในการสร้างพระพุทธรูปยุคสมัยต่างๆ พระแก้วมรกตจึงมีลักษณะใกล้เคียงยุคสมัยเชียงแสนมากที่สุด ซึ่งก็ตรงกับพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสันนิษฐานว่า เป็นฝีมือช่างเชียงแสน ในส่วนศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี นายช่างผู้เชี่ยวชาญศิลปะซึ่งเป็นชาวอิตาเลียน สรุปความเห็นเกี่ยวกับพุทธลักษณะของพระแก้วมรกตว่าเป็นฝีมือช่างท้องถิ่นในอาณาจักรล้านนาไทยหรือช่างทางเมืองเหนือของไทย จัดเป็นยุคสมัยเชียงแสนรุ่นหลัง ไม่ใช่ฝีมือช่างชาวต่างประเทศ

               ๓) ผลการศึกษาเกี่ยวกับความสำคัญของพระแก้วมรกตในฐานะพระคู่บ้านคู่เมือง พบว่า                   ๑) พระแก้วมรกตเป็นปูชนียวัตถุและวัตถุมงคลที่สำคัญต่อคนไทย

                        ๒) พระแก้วมรกตเป็นเครื่องส่งเสริมกำลังใจและสืบอายุพระพุทธศาสนา

                       ๓) พระแก้วมรกตเป็นปูชนียวัตถุทางพระพุทธศาสนา

                        ๔) พระแก้วมรกตเป็นสิ่งยึดถือและสักการบูชาสูงสุดที่พระมหากษัตริย์ทุกรัชกาลได้ปฏิบัติมาและ

                        ๕) เป็นพระประธานสำคัญในการอัญเชิญประกอบพระราชพิธีในวันสำคัญต่างๆ ของชาติไทย ดังนั้น พระมหากษัตริย์หรือบุคคลทั่วไป จึงให้ความเคารพสูงสุดต่อองค์พระแก้วมรกตมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน

Download : 255160.pdf

Download :
 
 
Copyright © Mahachulalongkornrajavidyalaya University All rights reserved 
Maintained by: webmaster@mcu.ac.th 
Last Update : Thursday February 9, 2012