Mahachulalongkornrajavidyalaya University
MCU Home Search Contacts Study Events Site Map Thai/Eng
 
MCU

First Page » พระมหาประสพฤกษ์ จารุวาโท (รัตนยงค์)
 
Counter : 19999 time
การศึกษาเชิงวิเคราะห์แนวความคิดเรื่องการบูชาในพระพุทธศาสนา(๒๕๕๐)
Researcher : พระมหาประสพฤกษ์ จารุวาโท (รัตนยงค์) date : 17/08/2010
Degree : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
Committee :
  พระเมธีรัตนติลก
  นายรังษี สุทนต์
  -
Graduate : ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐
 
Abstract

                   วิทยานิพนธ์เล่มนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาเชิงวิเคราะห์แนวความคิดเรื่องการบูชาในพระพุทธศาสนาเถรวาท การบูชาในอินเดียโบราณ อิทธิพลของการบูชาในพระพุทธศาสนาต่อสังคมไทย โทษของการขาดการบูชาและประโยชน์ของการบูชา ตลอดทั้งการบูชากับแนวทางแก้ปัญหาและการพัฒนาชีวิตการบูชาเป็นหลักธรรมสำคัญประการหนึ่ง ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า เป็นมงคลอันสูงสุด พื้นฐานสำคัญของการบูชาเกิดจากการที่มนุษย์ได้เห็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เชื่อว่าเป็นอำนาจของสิ่งที่มองไม่เห็น ที่มีอำนาจเหนือตนแล้วมนุษย์เกิดกลัวภัย หวังความปลอดภัยในชีวิต จึงทำการอ้อนวอนบูชา นอกจากนี้แล้ว ศรัทธา คือ ความเชื่อ ความเลื่อมใส ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มีการบูชา แต่ความเชื่อ ความเลื่อมใสที่ดีนั้นจะต้องมีปัญญาเป็นเครื่องกำกับด้วย จึงจะเป็นความเชื่อ ความเลื่อมใสที่ถูกต้องแท้จริงพื้นฐานที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของการบูชา ได้แก่ ศีลหรือวินัย อันเป็นระเบียบปฏิบัติเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของคนในสังคม เพื่อสันติสุข และพึงศึกษาให้ครบ
ตามหลักของไตรสิกขาในพระพุทธศาสนาอันได้แก่ ศีล สมาธิ และปัญญา หลักการทั้ง ๓ประการนี้ จะช่วยเสริมสร้างให้คนมีหลักธรรมในจิตใจและมีระเบียบวินัยในตนเอง ส่งผลให้เกิดการบูชาในตัวบุคคลและสิ่งต่าง ๆ โดยการมองเห็นคุณค่า คุณงามความดีที่มีอยู่ในตัวบุคคลและสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นหลักธรรมที่ส่งเสริมให้มีการบูชา ได้แก่ สาราณียธรรม คือ ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกัน ทำให้คนในสังคมมีการบูชากัน เคารพนับถือกัน ช่วยเหลือเกื้อกูลกันและมีความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน และอปริหานิยธรรม คือ ธรรมไม่เป็นที่ตั้งแห่ง
ความเสื่อม คือมีแต่ความเจริญ เป็นหลักธรรมที่จะช่วยเสริมสร้างให้มีการบูชากันตามลำดับผู้ใหญ่ผู้น้อย สอนให้รู้จักเคารพ กราบไหว้ผู้หลักผู้ใหญ่ ทำให้เป็นคนอ่อนน้อมถ่อมตนและมีสัมมาคารวะแม้การกราบ การไหว้ ที่ได้รับอิทธิพลมาจากพระพุทธศาสนา ก็เป็นเครื่องหมายให้รู้ว่า คนไทยมีความอ่อนน้อมถ่อมตน มีสัมมาคารวะ รู้จักกราบไหว้ บูชาผู้อื่น สิ่งอื่น ที่มีคุณค่า นับตั้งแต่อดีตเป็นต้นมา แต่ในปัจจุบัน สภาพสังคมได้เปลี่ยนแปลงไปตามกระแสโลก กลายเป็นสังคมวัตถุนิยมและบริโภคนิยม ทำให้เรื่องของการบูชา กราบไหว้ กันอย่างที่
เคยปฏิบัติมา เริ่มจะลดน้อยหายไปจากสังคมไทย เช่น ลูกแทบจะไม่กราบไหว้ เคารพ บูชาพ่อแม่ ลูกศิษย์ไม่บูชาบุญคุณครูอาจารย์ ดังนั้น หากทุกคนในสังคม ได้ศึกษาหลักการเกี่ยวกับการบูชา รู้คุณค่าของการบูชา ประโยชน์และโทษที่จะได้รับ ก็จะสามารถนำหลักการเหล่านั้นมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันหรือในสังคม ย่อมจะสามารถช่วยแก้ปัญหาสังคม อันจะเป็นผลให้สังคมที่เราอยู่อาศัยมีความเจริญรุ่งเรือง มีสันติสุข ร่มเย็น ก้าวหน้ามั่นคงสืบต่อไป

 

Download :  255007.pdf

 

Download :
 
 
Copyright © Mahachulalongkornrajavidyalaya University All rights reserved 
Maintained by: webmaster@mcu.ac.th 
Last Update : Thursday February 9, 2012