Mahachulalongkornrajavidyalaya University
MCU Home Search Contacts Study Events Site Map Thai/Eng
 
MCU

First Page » พระมหารุ่งเรือง รกฺขิตธมฺโม (ปะมะขะ)
 
Counter : 20030 time
ศึกษากรณีเยาวชนผู้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ณ ศูนย์ปฏิบัติธรรมสวนเวฬุวัน อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น(๒๕๕๐)
Researcher : พระมหารุ่งเรือง รกฺขิตธมฺโม (ปะมะขะ) date : 28/07/2010
Degree : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
Committee :
  พระมหาบาง เขมานนฺโท
  ผศ.ชอบ ดีสวนโคก
  ดร.ประยูร แสงใส
Graduate : ๒๑ / พฤษภาคม / ๒๕๕๐
 
Abstract

     ในการศึกษาวิจัย ผลการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน : ศึกษากรณีเยาวชนผู้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ณ ศูนย์ปฏิบัติธรรมสวนเวฬุวัน อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่นนี้ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับหลักการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน รูปแบบและวิธีการปฏิบัติธรรม จริตของผู้ปฏิบัติธรรม อารมณ์กรรมฐาน ความหมายและประเภทของกรรมฐาน การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ประโยชน์ของการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน การนำหลักสติปัฏฐานไปใช้ในชีวิตประจำวัน เป็นต้น และนำข้อมูลจากเอกสารมาศึกษาเปรียบเทียบกับการปฏิบัติ
วิปัสสนากรรมฐานของเยาวชนที่มาปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ณ ศูนย์ปฏิบัติธรรมสวนเวฬุวัน วิธีการปฏิบัติของศูนย์ปฏิบัติธรรมสวนเวฬุวัน ถูกต้องตามตำราหรือไม่โดยยึดตามเอกสารปฐมภูมิคือพระไตรปิฎกเป็นหลัก หารูปแบบที่เหมาะกับเยาวชน ด้วยการติดตามผลการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานของเยาวชนโดยอาศัยเครื่องมือแบบ สอบถามและแบบสัมภาษณ์ แล้วนำมาปรับปรุงพัฒนารูปแบบและวิธีการฝึกอบรมเยาวชนที่เข้ามาปฏิบัติธรรม
ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ในงานวิจัยเล่มนี้ประกอบด้วยงานวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณจากการศึกษา วิจัยครั้งนี้พบว่า เยาวชนมีปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานต่างกัน เช่น บางคนขาดความศรัทธาในการปฏิบัติ บางคนไม่เคยรู้มาก่อนว่าการปฏิบัติธรรม คืออะไรและทำไปเพื่อประโยชน์อะไรจึงไม่รู้เป้าหมายของการปฏิบัติธรรม ระยะเวลาในการปฏิบัติธรรมมีน้อยเกินไปทำให้การปฏิบัติธรรมไม่ต่อเนื่องและ ส่วนใหญ่ไม่ต้องการปฏิบัติเคร่งครัดเกินไปจึงควรมีกิจกรรมอื่นมาช่วยเสริมใน การปฏิบัติธรรม เพื่อให้เยาวชนมีความรู้สึกผ่อนคลายไม่เครียดเป็นต้นจากการติดตามผลการ ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานของเยาวชนหลังจากสิ้นสุด แต่ละโครงการปรากฏว่าเยาวชนเกิดการพัฒนาพฤติกรรมอันพึงประสงค์ดีขึ้น แต่เมื่อเวลาผ่านไปประมาณ ๑๐-๒๐ วันแล้วนั้นพฤติกรรมแบบเด็กๆ ก็ย้อนกลับมาสู่วิถีชีวิตเหมือนแต่ก่อนอีกครั้ง แสดงว่าการปฏิบัติธรรมสามารถ
ขัดเกลาพฤติกรรมหยาบได้ในช่วงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น ซึ่งแนวทางแก้ไขจะต้องมีการปฏิบัติให้ต่อเนื่องโดยนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ และผู้บริหารสถานศึกษาควรจัดการศึกษาตามแนวทางของไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา และส่งเสริมให้มีการปฏิบัติธรรมให้กับเยาวชนต่อไป ตลอดถึงการสร้างบรรยายสิ่งแวดล้อมให้เอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติธรรมในโรงเรียน ด้วย มีกิจกรรมปฏิบัติธรรมร่วมกันก่อนเข้าห้องเรียน ซึ่งเป็นกระบวนการขัดเกลาจิตใจก่อนที่จะเรียนรู้วิชาการต่างๆ ตลอดถึงส่งเสริมให้นักเรียนเข้ามาปฏิบัติธรรมในช่วงปิดภาคเรียน หรือในวันหยุดราชการ
Download :  255056.pdf

 

Download :
 
 
Copyright © Mahachulalongkornrajavidyalaya University All rights reserved 
Maintained by: webmaster@mcu.ac.th 
Last Update : Thursday February 9, 2012