Mahachulalongkornrajavidyalaya University
MCU Home Search Contacts Study Events Site Map Thai/Eng
 
MCU

First Page » พระกลม กมโร (วิเศษวงษา)
 
Counter : 19989 time
การศึกษาวิเคราะห์แนวทางการแก้ไขปัญหาฆาตกรรมตามแนว(๒๕๕๑)
Researcher : พระกลม กมโร (วิเศษวงษา) date : 21/08/2010
Degree : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(ปรัชญา)
Committee :
  พระมหากฤษณะ ตรุโณ
  ผศ. บุญมี แท่นแก้ว
  ผศ. สุนัย ครองยุทธ
Graduate : ๖ มีนาคม ๒๕๕๑
 
Abstract

       วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับปัญหาฆาตกรรมตามทรรศนะของพุทธจริยศาสตร์ โดยเน้นถึงสาเหตุและวิธีการป้องกันแก้ไขปัญหาฆาตกรรมตามแนวพุทธจริยศาสตร์ โดยการศึกษาค้นคว้าในคัมภีร์พระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา และคัมภีร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับปัญหาฆาตกรรมตามทรรศนะของนักปรัชญา

      จากการศึกษาพุทธจริยศาสตร์เรื่องฆาตกรรมพบว่าสาเหตุหลัก ๆ มี ๔ สาเหตุ ดังนี้ ๑.สาเหตุจากสภาพทางครอบครัว กล่าวคือ สมาชิกภายในครอบครัวเกิดการแตกแยกสองลักษณะได้แก่ การแตกแยกทางกายภาพและการแตกแยกทางด้านจิตใจ เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เกิดฆาตกรรมแนวทางการแก้ไขปัญหาฆาตกรรมตามตามพุทธจริยศาสตร์ คือ ให้สมาชิกในครอบครัวกระทำหน้าที่ของตนให้สมบูรณ์ สร้างทรรศนะให้เกิดสัมมาทิฏฐิ ๒. สาเหตุจากสภาพเศรษฐกิจ กล่าวคือภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั้งในระดับครอบครัวและระดับประเทศ เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เกิดฆาตกรรมแนวทางการแก้ไขปัญหาฆาตกรรมตามพุทธจริยศาสตร์ คือ ให้บุคคลมีการดำเนินชีวิตแบบมัชฌิมาปฏิปทาหรือเศรษฐกิจพอเพียง ๓. สาเหตุจากสภาพทางร่างกาย กล่าวคือ ความผิดปกติทางด้านร่างกาย เช่น ร่างกายพิการ เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เกิดฆาตกรรม แนวทางการแก้ไขปัญหาฆาตกรรมตามพุทธจริยศาสตร์ คือ ให้บุคคลประกอบกรรมดีละเว้นกรรมชั่ว ๔. สาเหตุจากสภาพทางจิตใจ กล่าวคือ ความผิดปกติทางด้านจิตใจและทางด้านอารมณ์ เช่น เพ้อคลั่ง เครียดจัด เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เกิดฆาตกรรม แนวทางการแก้ไขปัญหาฆาตกรรมตามพุทธจริยศาสตร์ คือ ให้บุคคลเน้นเรื่องการใช้สัมมาสติ พยายามฝึกสติให้เข้มแข็งพร้อมที่จะใช้แก้ปัญหาตลอดเวลาจากการศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับปัญหาฆาตกรรมของนักปรัชญา พบว่ามี ๓ กลุ่ม คือ ๑.กลุ่มสันตินิยมสัมบูรณ์ มีทรรศนะว่า สาเหตุของฆาตกรรมมาจากความไม่เข้าใจกันของบุคคลทั้งสองฝ่าย ได้เสนอทางออกโดยให้ลดความรุนแรงลงด้วยการทำความเข้าใจกัน ๒. กลุ่มอนุรักษ์นิยมมีทรรศนะว่า สาเหตุของฆาตกรรมมาจากความต้องการขยายอำนาจ ไม่ได้เสนอทางออกเอาไว้เนื่องจากเห็นว่าฆาตกรรมเป็นสิ่งที่กระทำแล้วไม่ผิด ๓. กลุ่มประโยชน์นิยม มีทรรศนะว่า สาเหตุของฆาตกรรมมาจากประโยชน์สุขของคนส่วนมาก การเสนอทางออกไม่ชัดเจนเพราะบางครั้งการฆ่าคนก็เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม
      จากการศึกษาพุทธจริยศาสตร์เชิงวิเคราะห์เรื่องฆาตกรรมพบว่า บุคคลจะประกอบกรรมชั่วรวมทั้งการฆาตกรรม เกิดจากปัจจัยที่สำคัญ ๒ อย่าง คือ ๑. เกิดจากความจำเป็นหรือสิ่งแวดล้อมบีบบังคับ ๒. เกิดจากกิเลสที่มีอยู่ในตัวของบุคคล ปัญหาฆาตกรรมเป็นปัญหาภายนอกและปัญหาภายใน วิธีการนำเอาพุทธจริยศาสตร์ไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาฆาตกรรมนั้นปัญหาภายนอกสามารถนำเอาพุทธจริยศาสตร์ระดับศีลมาแก้ไข ปัญหาภายในสามารถนำเอาพุทธจริยศาสตร์ระดับปัญญามาแก้ไข หลักพุทธจริยศาสตร์ที่สำคัญที่จะนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาฆาตกรรมอันประกอบด้วยเหตุผล คือ หลักอริยสัจจ์ ๔ การนำเอาพุทจริยศาสตร์ไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาฆาตกรรมมีอุปสรรค คือ บุคคลไม่ได้ศึกษาหลักธรรมให้เกิดความเข้าใจอย่างแท้จริง และบุคคลขาดอิทธิบาท ๔ โดยภาพรวมหลักพุทธจริยศาสตร์สามารถใช้แก้ไขปัญหาฆาตกรรมได้ในเมื่อบุคคลมีความรู้ความเข้าใจแล้วนำไปปฏิบัติอย่างจริงจัง

Download :  255143.pdf

Download :
 
 
Copyright © Mahachulalongkornrajavidyalaya University All rights reserved 
Maintained by: webmaster@mcu.ac.th 
Last Update : Thursday February 9, 2012