Mahachulalongkornrajavidyalaya University
MCU Home Search Contacts Study Events Site Map Thai/Eng
MCU
ON THIS SITE
Curriculum
Academic Articles

First Page » Phradhammakosajan » Thai State Religion
 
counter : 61372 time

''Thai State Religion''
 
Most Ven. Prof.Dr. Phra Dhammakosarjarn (2550)

&nbsp;&nbsp;<SPAN class=style3>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ระยะนี้ ชาวพุทธออกมาเรียกร้องให้บัญญัติพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับล่าสุด มีหลายคนตั้งข้อสงสัยว่าการที่ร่างรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ในมาตรา ๙ ว่า "พระมหากษัตริย์<B>ทรงเป็นพุทธมามกะ</B>และทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก" ยังไม่เป็นการเพียงพอที่จะรับประกันว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติละหรือ <BR>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ชาวพุทธผู้ออกมาเรียกร้องมีความเห็นว่า บทบัญญัติในมาตราดังกล่าวเพียงพอที่จะประกันว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งชาติไทยก็จริง แต่ยังไม่ใช่การรับรองว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทย <BR>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; อะไรคือความแตกต่างระหว่างคำว่า <STRONG>ศาสนาแห่งชาติ </STRONG>(National Religion) กับคำว่า <STRONG>ศาสนาประจำชาติ </STRONG>(State Religion)<BR>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;คำว่า <STRONG>ศาสนาแห่งชาติ </STRONG>หมายถึง ศาสนา ที่ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศนั้นๆ นับถือ ซึ่งรวมทั้งประมุขหรือพระประมุขของประเทศนั้นก็นับถือด้วย <BR>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; คำว่า <B>ศาสนาประจำชาติ</B> หมายถึง ศาสนาที่ทางราชการในประเทศนั้นๆ รับรองให้ความสำคัญสูงสุด ด้วยการบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ดังเช่น รัฐธรรมนูญของอัฟกานิสถาน บัญญัติให้ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ รัฐธรรมนูญของพม่า บัญญัติให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ<BR>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;เมื่อว่า<B>โดยพฤตินัย </B>พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งชาติไทย เพราะมีคนไทยส่วนใหญ่นับถือมาตั้งแต่เริ่มสถาปนารัฐไทยในสมัยกรุงสุโขทัย และพระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ก็ทรงเป็นพุทธมามกะ แต่เมื่อว่า<B>โดยนิตินัย </B>พระพุทธศาสนายังไม่เป็นศาสนาประจำชาติไทย เพราะยังไม่มีการบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. ๒๔๗๕ <BR>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ในสมัยสมบูรณาสิทธิราชย์ การที่พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะ ถือว่าเป็นการรับรองพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทยอยู่ในตัว ตามหลักการแต่โบราณที่ว่า "ศาสนาประจำชาติเป็นไปตามศาสนาของผู้ปกครอง (Whose rule, his religion)"<BR>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ เป็นต้นมา ความเป็นศาสนาประจำชาติของพระพุทธศาสนาควรมีการบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ซึ่งถือว่าเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ ทั้งนี้ ก็เพื่อให้ความเป็นศาสนาประจำชาตินี้ได้รับการสืบทอดอย่างเป็นทางการมาจากสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั่นเอง<BR>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; สถาบันชาติได้รับการกล่าวถึงไว้ในมาตรา ๑ แห่งร่างรัฐธรรมนูญว่า "ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวจะแบ่งแยกมิได้" และสถาบันพระมหากษัตริย์ได้รับการบัญญัติไว้ในมาตรา ๒ ว่า "ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" <BR>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;ชาวพุทธเรียกร้องให้เพิ่มอีก ๑ มาตราที่บัญญัติเกี่ยวกับสถาบันพระพุทธศาสนาไว้ในร่างรัฐธรรมนูญว่า "ประเทศไทยมีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ" หรือจะเพิ่มข้อความเข้าในมาตรา ๒ ว่า "ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและมี<B>พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ</B>" ดังนี้ก็ได้<BR>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;ถ้ามีการบัญญัติเพิ่มเติมในรัฐธรรมนูญเช่นว่านี้ พระพุทธศาสนาซึ่งเคยเป็นศาสนาประจำชาติไทยในสมัยสมบูรณาสิทธิราชย์ก็ชื่อว่าได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการให้เป็นศาสนาประจำชาติไทยต่อไป และจะได้ไม่ต้องมีใครมาโต้แย้งว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติหรือไม่ <BR>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;เมื่อมีการปรับปรุงหลักสูตรพระพุทธศาสนาในโรงเรียนแล้ว นักวิชาการชาวพุทธเขียนลงในหนังสือแบบเรียนว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ นักวิชาการต่างศาสนาได้ส่งหนังสือทักท้วงไปที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการให้ถอดข้อความที่ว่านั้นออกจากแบบเรียน เขาให้เหตุผลว่าเพราะรัฐธรรมนูญไม่ได้บัญญัติว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ <BR>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; เรื่องได้ยุติลงในที่สุดเมื่อนักวิชาการชาวพุทธท่านนั้นอ้างพระราชนิพนธ์หรือพระราชดำรัสของพระมหากษัตริย์ไทยที่ทรงประกาศไว้ว่า<BR>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;"ข้าพเจ้าย่อมรู้สึกว่า เป็นหน้าที่ของข้าพเจ้าที่จะต้องทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา <STRONG>ซึ่งเป็นสิ่งคู่กับพระราชอาณาจักร</STRONG> ให้ดำเนินไปในทางวัฒนาถาวรพร้อมกันทั้งสองฝ่าย" (พระบาทสมเด็จพระปิยมหาราช รัชกาลที่ ๕)<BR>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; " ถ้าข้าพเจ้าจะขอแก่ท่านทั้งหลายว่า พุทธศาสนาเป็นของไทย เรามาชวนกันนับถือพระพุทธศาสนาเถิด... เพราะเหตุฉะนั้น เป็นความจำเป็นที่เราทั้งหลาย ผู้เป็นไทยจะต้องมั่นอยู่ในศาสนาพระพุทธ ซึ่งเป็น<STRONG>ศาสนาสำหรับชาติเรา</STRONG>..." (พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖)<BR>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;"เมื่อข้าพเจ้ามีโอกาสไปเยือนสำนักวาติกัน เมื่อปีคริสต์ศักราช ๑๘๖๐ สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอล ที่ ๒ ตรัสถามถึงคนไทยนับถือศาสนามากน้อยเพียงใด ข้าพเจ้าทูลตอบว่า คนไทยเป็นศาสนิกชนที่ดีทั่วกัน ส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนา <STRONG>อันเป็นศาสนาประจำชาติ</STRONG>" (พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน)<BR>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ดังนั้น การที่ชาวพุทธเรียกร้องให้มีการบัญญัติว่า พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไว้ในรัฐธรรมนูญก็เพื่อให้มีการับรองสถานะของพระพุทธศาสนาที่เป็น<STRONG>ศาสนาแห่งชาติ</STRONG>อยู่แล้วโดยพฤตินัยนั้นให้เป็น<STRONG>ศาสนาประจำชาติ</STRONG>โดยนิตินัยอย่างชนิดที่ไม่อาจมีใครโต้แย้งได้ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต<BR>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ในโลกปัจจุบัน มีประเทศที่ประกาศอย่างเป็นทางการไว้ในรัฐธรรมนูญว่า มีศาสนาคริสต์เป็นศาสนาประจำชาติ จำนวนกว่า ๑๕ ประเทศ ตัวอย่างเช่น รัฐธรรมนูญฃองประเทศเดนมาร์กบัญญัติว่า <B>"ศาสนาคริสต์ลูเธอแรนเป็นศาสนาประจำชาติเดนมาร์กที่จะต้องได้รับการอุปถัมภ์จากรัฐ"</B> รัฐธรรมนูญของประเทศกรีซบัญญัติว่า <B>"ศาสนาสำคัญในประเทศกรีซคือศาสนาคริสต์ออร์ธอดอกซ์ตะวันออก... พระคัมภีร์ไบเบิ้ลอันศักดิ์สิทธิ์ต้องได้รับการอนุรักษ์ไว้โดยไม่มีการดัดแปลง"</B> <BR>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ประเทศที่ประกาศอย่างเป็นทางการไว้ในรัฐธรรมนูญว่า มีศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ มีจำนวน ๓๐ ประเทศ ตัวอย่างเช่น รัฐธรรมนูญฃองประเทศมาเลเซีย บัญญัติว่า <B>"อิสลามเป็นศาสนาแห่งสหพันธรัฐมาเลเซีย แต่ก็อาจปฏิบัติศาสนาอื่นได้ด้วยสันติและสามัคคีในทุกส่วนของสหพันธรัฐ"</B> รัฐธรรมนูญของประเทศอัฟกานิสถานบัญญัติว่า <B>"ศาสนาอิสลามที่ศักดิ์สิทธิ์เป็นศาสนาแห่งอัฟกานิสถาน ในสาธารณรัฐอัฟกานิสถานจะไม่มีกฎหมายใดขัดแย้งกับหลักการของศาสนาอิสลามที่ศักดิ์สิทธิ์"</B><BR>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ประเทศที่ประกาศอย่างเป็นทางการไว้ในรัฐธรรมนูญว่า มีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติมีเพียง ๔ ประเทศเท่านั้น คือ ศรีลังกา พม่า กัมพูชา ภูฏาน ตัวอย่างเช่น รัฐธรรมนูญของประเทศศรีลังกาบัญญัติว่า <B>"สาธารณรัฐศรีลังกายกพระพุทธศาสนาไว้ในสถานะสำคัญสูงสุดและถือเป็นหน้าที่ของรัฐที่จะต้องอุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนาและในขณะเดียวกันก็ประกันสิทธิของทุกศาสนาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๐ และ ๑๔"</B> รัฐธรรมนูญของประเทศภูฎาน บัญญัติว่า <B>"พระพุทธศาสนาเป็นมรดกทางจิตใจของภูฎาน ซึ่งส่งเสริมหลักการและค่านิยมแห่งสันติ อหิงสา กรุณาและขันติ"</B> <BR>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;แต่ประเทศไทยที่มีพระพุทธศาสนาเป็นรากฐานของวัฒนธรรมไทย มีสำนักงานใหญ่ขององค์การพุทธศานิกสัมพันธ์แห่งโลกตั้งอยู่เป็นการถาวรมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๒ และมีพุทธมณฑลที่ชาวพุทธทั่วโลกยอมรับว่าเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาของโลกตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๘ ยังไม่มีการบัญญัติในรัฐธรรมนูญให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ<BR>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; หลายคนแสดงความห่วงใยว่า การที่รัฐธรรมนูญบัญญัติให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติจะเป็นเหตุให้ชาวไทยต่างศาสนาถูกกดขี่กีดกันทางศาสนา หรืออาจเป็นชนวนยั่วยุให้ความขัดแย้งในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ลุกโชนยิ่งขึ้น <BR>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;ในประเด็นที่เกี่ยวกับความรุนแรงในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น ทางคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ยืนยันว่าไม่ได้เกิดจากความขัดแย้งของผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนาและศาสนาอิสลาม แต่เป็นการสร้างความวุ่นวายและก่อการร้ายของกลุ่มที่ไม่มีศาสนาที่ต้องการแบ่งแยกดินแดน ทางคมช.จึงมีมติเป็นเอกฉันท์ว่า ไม่ขัดข้อง หากจะบัญญัติพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไว้ในรัฐธรรมนูญ <BR>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ประเด็นที่ว่าชาวไทยที่นับถือศาสนาอื่นอาจถูกกีดกันหรือกดขี่ทางศาสนา ถ้ารัฐธรรมนูญบัญญัติให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาตินั้น เกิดจากความหวาดระแวงว่าการบัญญัติให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไว้ในรัฐธรรมนูญจะนำไปสู่การบังคับให้คนไทยต้องนับถือแต่พระพุทธศาสนาและจะมีการกีดกันหรือกดขี่ศาสนาอื่นไปพร้อมกัน<BR>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ในเดือนมีนาคม ๒๕๔๙ นายอับดุล ราห์มัน ชาวอัฟกานิสถานถูกจับข้อหาเลิกนับถือศาสนาอิสลามและหันไปนับถือศาสนาคริสต์ ถ้ามีการพิสูจน์ได้ว่าเปลี่ยนศาสนาจริง เขาจะถูกศาลพิพากษาประหารชีวิต คดีนี้โด่งดังไปทั่วโลกเมื่อผู้นำประเทศมหาอำนาจได้กดดันรัฐบาลอัฟกานิสถานเพื่อไม่ให้ประหารชีวิตชายคนนี้<BR>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; เมื่อพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาเดินทางเข้าไปในประเทศมาเลเซียซึ่งมีศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ ก็ถูกห้ามมิให้เผยแผ่พระพุทธศาสนาแก่ภูมิบุตรคือชาวมาเลเซียมุสลิมมิฉะนั้นจะมีความผิดตามกฎหมาย<BR>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ในประเทศพม่าซึ่งมีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติได้มีนโยบายกีดกันไม่ให้คนที่นับถือศาสนาอื่นซึ่งรับราชการทหารมียศสูงกว่าพันเอก<BR>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; พระพุทธศาสนาในประเทศไทยแต่โบราณมาเป็นศาสนาที่ประนีประนอมกับศาสนาอื่นมาโดยตลอด โดยไม่เคยมีการบังคับให้คนไทยต้องนับถือแต่พระพุทธศาสนา และไม่เคยมีการกีดกันศาสนาอื่นไม่ให้เผยแผ่ในประเทศไทย ทั้งไม่เคยกีดกันคนไทยที่นับถือศาสนาอื่นไม่ให้เจริญก้าวหน้าในสังคมไทย ดังที่เราได้เห็นศาสนิกชนแห่งศาสนาอื่นสามารถดำรงตำแหน่งสำคัญในคณะรัฐบาล เป็นประธานรัฐสภาและเป็นผู้บัญชาการเหล่าทัพ เป็นต้น<BR>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; เพื่อเป็นหลักประกันว่าจะไม่มีการกีดกันหรือกดขี่ทางศาสนาเกิดขึ้นในสังคมไทย รัฐธรรมนูญฉบับที่ผ่านมาและร่างรัฐธรรมนูญฉบับล่าสุดก็ได้บัญญัติเรื่องการคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพและความเสมอภาคในสังคมไทยไว้ดังต่อไปนี้<BR>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; “<STRONG>มาตรา ๓๐</STRONG> บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน<BR>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม <B>ความเชื่อทางศาสนา</B> การศึกษาอบรมหรือความคิดเห็นทางการเมือง อันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ จะกระทำมิได้<BR>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; <STRONG>มาตรา ๓๗</STRONG> บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์<B>ในการถือศาสนา นิกายของศาสนา หรือลัทธินิยมในทางศาสนา</B> และย่อมมีเสรีภาพในการปฏิบัติตามศาสนธรรม ศาสนบัญญัติ หรือปฏิบัติพิธีกรรมตามความเชื่อถือของตน เมื่อไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมืองและไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน<BR>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ในการใช้เสรีภาพดังกล่าวตามวรรคหนึ่ง บุคคลย่อมได้รับความคุ้มครองมิให้รัฐกระทำการใด ๆ อันเป็นการรอนสิทธิหรือเสียประโยชน์อันควรมีควรได้ <B>เพราะเหตุที่ถือศาสนา นิกายของศาสนา</B> ลัทธินิยมในทางศาสนา หรือปฏิบัติตามศาสนธรรม ศาสนบัญญัติ หรือปฏิบัติพิธีกรรมตามความเชื่อถือแตกต่างจากบุคคลอื่น"<BR>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ถ้าชาวพุทธต้องการให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติแบบผูกขาด ชนิดไม่มีคู่แข่งจริงๆก็คงต้องเรียกร้องให้ตัดมาตรา ๓๐ และมาตรา ๓๗ ออกจากร่างรัฐธรรมนูญอีกด้วย แต่ในความเป็นจริงชาวพุทธต้องการให้คงมาตราทั้งสองไว้ในร่างรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้เพราะพระพุทธศาสนาสอนให้คนไทยใจกว้างและรักสันติ <BR>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; เมื่อศาสนิกชนแห่งศาสนาอื่นได้อ่านพบมาตราทั้งสองนี้แล้วก็จะเกิดความอุ่นใจว่าสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคทางศาสนาของพวกเขาไม่ได้ถูกริดรอนไปแต่อย่างใด และถ้าจะให้ความอุ่นใจแก่ศาสนิกชนของศาสนาอื่นก็ควรเพิ่มข้อความเกี่ยวกับศาสนาอื่นไว้ในมาตราเดียวกันตามแบบอย่างรัฐธรรมนูญของเดนมาร์กและมาเลเซียว่า <B>"พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติของประเทศไทย รัฐต้องให้ความอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่น"</B><BR>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;เมื่อมีการกล่าวถึงพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่นไว้ในรัฐธรรมนูญมาตราเดียวกันอย่างนี้ แม้รัฐธรรมนูญจะบัญญัติให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติของประเทศไทยก็จะไม่มีอะไรไปรอนสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคทางศาสนาของศาสนิกชนในศาสนาอื่น<BR><BR>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ถึงเวลาแล้วหรือยังที่ประเทศไทยซึ่งมีพระพุทธศาสนาเป็นรากฐานของวัฒนธรรมไทย มีสำนักงานใหญ่ขององค์การพุทธศานิกสัมพันธ์แห่งโลกตั้งอยู่เป็นการถาวร และมีพุทธมณฑลที่ชาวพุทธทั่วโลกยอมรับว่าเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาของโลก จะได้บัญญัติในรัฐธรรมนูญให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ </SPAN>

(Source: -)
 
 
 
Copyright © Mahachulalongkornrajavidyalaya University All rights reserved 
Maintained by: webmaster@mcu.ac.th 
Last Update : Thursday February 9, 2012